คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการออกแบบ คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทกับงานด้านการออกแบบในสาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น งานด้านสถาปัตย์ออกแบบภายในบ้าน การออกแบบรถยนต์ การออกแบบเครื่องจักรกล รวมถึงการออกแบบวงจรไฟฟ้าเล็กทรอนิกส์ซึ่งโปรแกรมที่ใช้จะเป็นโปรแกรม 3 มิติ เพราะสามารถกำหนดสีและแสงเงาได้เหมือนจริงที่สุด
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก
ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก
ภาพเวกเตอร์ (Vector Graphic)
ภาพบิตแมป (Bitmapped Image)
1ภาพเวกเตอร์
เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม AdobeIllustrator หรือ MacromediaFreehand
2บิตแมป
เป็นภาพที่เกิดจากการประกอบรวมกันของจุดสี หรือพิกเซล ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดที่ใช้แสดงผลบนจอภาพและในการพิมพ์ ภาพบิตแมปสามารถรองรับการแสดงสีได้มากกว่า 16.7 ล้านสี (ความละเอียดที่ 26 บิต) ให้ภาพที่ดูสมจริงกว่าภาพเวกเตอร์
วิธีการสร้างภาพแบบบิตแมปที่นิยมกันสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
– การนำเข้าภาพจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
– การคัดลอก (Copy) ภาพที่แสดงบนจอภาพ
9
– นำเข้าภาพถ่ายผ่านทางเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner)
นำเข้ารูปภาพจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลหรือกล้องวีดีโอดิจิตอล
ไฟล์ภาพเวกเตอร์หลายรูปแบบ ซึ่งมีนามสกุลแตกต่างกันออกไป เช่น Al, Cdr, Cgm, Cmx, Drw, Eps, Pdf, Pct, Pic, Plt และ Wmf เป็นต้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้สร้าง มักเขียนโครงร่างขึ้นมาก่อน แล้วจึงตกแต่งภาพให้สวยงาม
.หลักการใช้สีและแสงในคอมพิวเตอร์
หลักการใช้สีและแสงในคอมพิวเตอร์
สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปมี 4 ระบบ คือ
1. RGB
เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ สีแดง, สีเขียวและสีน้ำเงิน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มมากเมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก
2. CMYK
เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า,สีม่วงแดง,สีเหลือง,และสีดำ เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลด หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งและสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ
7
3. HSB
เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
Hue คือสีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา
Saturation คือความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
Brightness คือระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100
4. LAB
เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใดๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
L เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะ กลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว
A เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
B เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง
หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก
ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วยสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมดันทำให้เกิดเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster และแบบ Vector
ความหมายของกราฟิก
กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
กราฟิก (Graphic) หมายถึง ภาพนิ่งที่เก็บอยู่ในรูปแบบดิจิตอลบนระบบคอมพิวเตอร์ โดยกราฟิกถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของงานมัลติมีเดีย เพราะถูกนำไปใช้งานในหลายรูปแบบ
บทบาทและความสำคัญของกราฟฟิก
สามารถบอกความหมายของกราฟิกได้
สามารถบอกความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิกได้
บอกประเภทของภาพได้
สามารถบอกหลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟิกได้
สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างภาพเวกเตอร์และภาพบิตแมปได้
สามารถบอกหลักการใช้สีและแสงในคอมพิวเตอร์ได้
สามารถบอกประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิกในงานด้านต่างๆ ได้
ประวัติความเป็นมาของ กราฟิก
กราฟิก (Graphic) มักเขียนผิดเป็น กราฟิกส์ กราฟฟิกส์ กราฟฟิก คำว่า “กราฟิก” มาจากภาษากรีก ซึ่งหมายถึง การวาดเขียน และการเขียน ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า กราฟิก
กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)